ความไม่สงบในภาคใต้

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
Souththailandmap.GIF
แผนที่แสดงจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา (แถบแดงขั้นเหลือง)
วันที่4 มกราคม พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน
สถานที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และบางอำเภอของจังหวัดสงขลา
ผลลัพธ์ยังคงดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง
Flag of Thailand.svg ราชอาณาจักรไทย Flag of Jihad.svg กลุ่มมูจาฮีดินปัตตานี (บีเอ็นพี)
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ
ไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
Royal Thai Army Seal.svg พลโท วลิต โรจนภักดี
ตราศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้.png พลตำรวจโท ยงยุทธ เจริญวานิช
Sbpac LOGO.jpg ภาณุ อุทัยรัตน์
ตรากองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้.png พลตรี พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์
Flag of Jihad.svg วันอับดุลกาเดร์ เจ๊ะมัน
Flag of Jihad.svg อับดุลเลาะห์ ซุงการ์
Flag of Pattani.svg กาบีร์ อับดุลเราะห์มาน
กำลังพลสูญเสีย
ทหารเสียชีวิต 499 นาย
ตำรวจเสียชีวิต 312 นาย
อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 181 นาย
บุคลากรทางการศึกษา 187 ราย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง200 ราย
ผู้นำศาสนาประชาชนทั่วไป 3574 ราย[1]
ผู้ก่อเหตุเสียชีวิต 399 คน[1]
รวมเสียชีวิต 5,352 คน รวมบาดเจ็บ 9,965 คน[1]
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย หรือมักเรียกว่า ไฟใต้ เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในสี่จังหวัดภาคใต้[2] ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2556 ได้เพิ่มอีกหนึ่งอำเภอได้แก่อำเภอสะเดา[3][4]ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด และจลาจลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวในลักษณะต้องการแบ่งแยกดินแดนบริเวณปัตตานีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ความไม่สงบดังกล่าวเริ่มบานปลายขึ้นหลัง พ.ศ. 2547[5]
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[6]เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดปัตตานี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้รับอำนาจบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว[7] วันที่ 19 เดือนเดียวกัน คณะทหารได้ก่อรัฐประหารซึ่งทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง แต่แม้ว่าจะมีท่าทีปรองดองจากคณะผู้ยึดอำนาจก็ตาม สถานการณ์ก็ยังคงดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 1,400 ศพ เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น เป็น 2,579 ศพ เมื่กลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2550[8]
แม้จะมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการจัดการกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองประกาศว่าสันติภาพจะกลับคืนสู่ภูมิภาคภายใน พ.ศ. 2551[9] ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเกิน 3,000 ศพ เมื่อเดือนมีนาคมปีนั้น[10] ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ว่า เขามั่นใจว่าจะนำสันติภาพสู่ภูมิภาคภายใน พ.ศ. 2553[11] แต่เมื่อถึงปลายปีนั้น ความรุนแรงได้มีเพิ่มมากขึ้น ตรงกันข้ามกับการมองโลกในแง่ดีของรัฐบาล[12] ท้ายที่สุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลจึงยอมรับว่าสถานการณ์ได้เพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถแก้ไขได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน[13]

เบื้องหลัง[แก้]

ลักษณะของสถานการณ์[แก้]

กลุ่มกองโจรปัตตานีเริ่มต้นสร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2544 เอกลักษณ์ของผู้ก่อการที่ต้องการผลักดันให้เกิดความขัดแย้งขึ้นนั้นยังคงคลุมเครือเสียเป็นส่วนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั้งเดิมในภูมิภาค อย่างเช่น พูโล บีอาร์เอ็นและจีเอ็มไอพี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บีอาร์เอ็น โคออดิเนต (อันเป็นสาขาหนึ่งของบีอาร์เอ็น) และกลุ่มติดอาวุธที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับบีอาร์เอ็น คือ รันดา คัมปูรัน คีซิล[14] ส่วนคนอื่นเสนอแนะว่าความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอิสลามต่างชาติ อาทิ อัลกออิดะห์และญะมาอะห์ อิสลามียะห์ แต่ด้วยวิธีการทำงานของกองโจรในภาคใต้ ซึ่งโจมตีคลังอาวุธทหารและโรงเรียน ไม่เหมือนกับวิธีการปฏิบัติของกลุ่มอื่นซึ่งโจมตีเป้าหมายชาติตะวันตก มุมมองที่ว่ากองโจรในภูมิภาคมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างชาตินั้นจึงอ่อน[15]
ในตอนแรก รัฐบาลมองว่าการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของโจร และอันที่จริงแล้ว ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจำนวนมากก็เชื่อว่า กลุ่มท้องถิ่น คู่แข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภูมิภาคดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากตำรวจเสียชีวิตไป 14 นาย ในการโจมตีหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลานานเจ็ดเดือน อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ปฏิเสธถึงบทบาทของศาสนาในการโจมตีดังกล่าว เพราะตำรวจที่เสียชีวิตไปหลายคนนั้นเป็นมุสลิมด้วย[16]
ในปีเดียวกัน ทักษิณกล่าวว่า "ไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่มีผู้ก่อการร้ายอุดมการณ์ มีแต่โจรกระจอก" แต่ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เปลี่ยนท่าที และจัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ มีการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[17]
รัฐบาลทักษิณ 1 (พ.ศ. 2544-48) มีสมาชิกรัฐสภาเป็นมุสลิมหลายสิบคน สภาจังหวัดในจังหวัดชายแดนมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเทศบาลหลายแห่งในภาคใต้มีนายกเทศมนตรีเป็นมุสลิม มุสลิมเริ่มมีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมืองอย่างเปิดเผยมากขึ้นและได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลทักษิณยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแทนที่ด้วยกำลังตำรวจที่มีเรื่องฉาวโฉ่ในด้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งได้เริ่มการปราบปรามอย่างกว้างขวางในทันที การปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความไม่พอใจต่อการละเมิดดังกล่าวได้นำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 และ 2548[18]
หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้มีท่าทีปรองดองกับสถานการณ์มากขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจเกินควรและเริ่มต้นเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่เป็นที่รู้จักกันดี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวน่าจะเป็นการสนับสนุนการยืนยันที่ว่ามีกลุ่มหลายกลุ่มมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสถานการณ์ และมีกลุ่มจำนวนน้อยที่สงบลงจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล[19] ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. 2539 ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงทั้งหมด 42 ครั้ง และเพิ่มเป็น 83 ครั้งในปี พ.ศ. 2540 และ 139 ครั้งในปี พ.ศ. 2541 ส่วนในปี พ.ศ. 2545 เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น 82 ครั้ง และ 84 ครั้งในปี พ.ศ. 2546[20]

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ[แก้]

มีการอ้างว่าความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งเบื้องหลังการก่อการกำเริบด้วย[21][22] จังหวัดชายแดนยังมีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดเมื่อเทียบกับจังหวัดภาคใต้ด้วยกัน แม้ว่าสมรรถนะของเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษหลัง ๆ ระหว่างปี 2526 ถึง 2546 รายได้ต่อหัวของจังหวัดปัตตานีเพิ่มขึ้นจาก 9,340 บาท เป็น 57,621 บาท ขณะที่รายได้ต่อหัวของจังหวัดยะลาและนราธิวาสก็เพิ่มขึ้นจาก 14,987 บาท เป็น 52,737 บาท และจาก 10,340 บาท เป็น 38,553 บาท ตามลำดับ กระนั้น
การขาดประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นปัจจัยหนึ่งของความไม่สงบ เอกชนมักไม่มีส่วนร่วมในการลงทุนเพราะพื้นที่อยู่ภายใต้หน่วยงานความมั่นคงของรัฐ คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติรายงานว่า โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้มีปัญหา เพราะมีประชากรยากจนสูง และมีการแย่งชิงทรัพยากร กระนั้น นักวิเคราะห์ทางสังคมกลับมองว่า ความยากจนเองมิใช่ปัญหาทั้งหมด แต่เป็นการไม่ได้รับความยุติธรรมมากกว่า และในการแก้ปัญหาความรุนแรง รัฐควรแก้ปัญหาแรงจูงใจทางการเมือง[23]

ปัจจัยการศึกษา[แก้]

ในระบบโรงเรียนปอเนาะ (Pondok) ของไทย พบว่ามีบางโรงเรียนที่มีเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดนหรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อตอบโต้รัฐบาลไทยที่ชาวมุสลิมมาเลย์ในพื้นที่เชื่อว่ากดขี่ข่มเหงพวกเขาชัดเจน ระบบโรงเรียนดังกล่าวถูกกล่มแบ่งแยกดินแดนแทรกซึมแล้วเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์ ซึ่งหน่วยข่าวกรองกองทัพบกระบุว่า โรงเรียนสอนศาสนากลายเป็นแหล่งบ่มเพาะสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่าง ๆ และหัวหน้ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้นก็สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนปอเนาะ[23]

เหตุการณ์ทั้งหมด[แก้]

พ.ศ. 2545[แก้]

วันที่ 30 มีนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43) ซึ่งรัฐบาลมีคำสั่งนายกรัฐมนตรียุบ ศอ.บต. และ พตท. 43 เมื่อวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน

พ.ศ. 2547[แก้]

  • 4 มกราคม - เกิดเหตุเผาโรงเรียน 18 แห่ง ในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย และได้อาวุธปืนไปกว่า 314 กระบอก[23] รัฐบาลเสียหน้าอย่างมาก พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ตำหนิทหารที่ไม่ระมัดระวัง ถึงกับพูดว่า "ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย"[24]
  • 12 มีนาคม - สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว
  • 28 เมษายน - กลุ่มก่อความไม่สงบปฏิบัติการครั้งใหญ่ ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 107 คน ทหารและตำรวจเสียชีวิต 5 นาย[23]
  • 5 ธันวาคม - โปรยนกกระดาษ 60 ล้านตัว ตามโครงการ "60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ" จากนั้น โจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่เก็บนกกระดาษ[ต้องการอ้างอิง]

พ.ศ. 2548[แก้]

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย
  • 23 กุมภาพันธ์ - ครูในจังหวัดปัตตานีขอให้รัฐบาลอนุญาตการพกปืน เพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อความไม่สงบ[ต้องการอ้างอิง]
  • 17 กุมภาพันธ์ - เหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 6 และบาดเจ็บมากกว่า 40 คน[ต้องการอ้างอิง]
  • 3 เมษายน - เกิดระเบิดพร้อมกัน 3 จุด ที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หาดใหญ่, ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และหน้าโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา[ต้องการอ้างอิง]
  • 14 กรกฎาคม - เกิดความรุนแรงในเขตเทศบาลนครยะลา โจมตีโรงไฟฟ้าในเวลากลางคืน ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และประชาชนบาดเจ็บ 23 คน และไฟฟ้าดับทั้งเมืองเป็นเวลาหลายชั่วโมง[ต้องการอ้างอิง]
  • 16 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยร่างพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[25]
  • 18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[26]
  • 21 กรกฎาคม - ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่สามจังหวัด[27][28]
  • 21 กันยายน - นาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังถูกจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาในอำเภอระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย[29]
  • 26 ตุลาคม - คนร้ายปล้นปืนพร้อมกันใน 3 จังหวัด ได้ปืนไป 99 กระบอก แบ่งเป็นใน จ.ปัตตานี 39 กระบอก ยะลา 41 กระบอก และนราธิวาส 19 กระบอก คนร้ายตาย 1 ศพ ถูกจับได้ 1 คน ฝ่ายรัฐผู้ใหญ่บ้านและ ชรบ.เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 4 คน[ต้องการอ้างอิง]
  • 2 พฤศจิกายน - คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด[ต้องการอ้างอิง]

พ.ศ. 2549[แก้]

  • 1 สิงหาคม คนร้ายลอบวางเพลิงใน จ.ปัตตานี-นราธิวาส หลายจุดพร้อมกัน วางระเบิด ทำลายทรัพย์สินและเผายางรถยนต์ แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[30]
  • 31 สิงหาคม เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่วจังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน[31]
  • 4 กันยายน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547[32]
  • 16 กันยายน เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 50 คน นักท่องเที่ยวกว่า 1,000 คน ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรมกว่า 10 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิด ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนเกิดโกลาหล[33]
  • 25 กันยายน คนร้ายประมาณ 30 คน ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่จังหวัดยะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย[34]
  • 28 กันยายน หน่วยปกป้องครูชายแดนภาคใต้ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ถูกคนร้ายใช้ระเบิดซุ่มโจมตี ทำให้ทหาร 5 นายได้รับบาดเจ็บ ทหารนายหนึ่งเสียชีวิตที่โรงพยาบาล[35]
  • 2 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐบาล กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ[36]
  • 3 พฤศจิกายน คนร้ายดักยิงรถบรรทุกนักเรียนบนถนนสาย 410 ยะลา–เบตง บ้านพงยือไร หมู่ที่ 1 ต.บันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา คนขับรถบาดเจ็บสาหัส[37]
  • 4 พฤศจิกายน เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียน 3 จุด ในพื้นที่ อ.บันนังสตา[38]
  • 5 พฤศจิกายน ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน รวมตัวเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่[39] เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม[40]
  • 7 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีสามัคคี ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา[41]
  • 10 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายปาระเบิดและตามด้วยใช้อาวุธสงครามยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารชุด ฉก.11 ที่ยะลา[42]
  • 11 พฤศจิกายน คนร้ายกว่า 10 รายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการตชด.33 อ.ยะหา จ.ยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย[43]
  • 17 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน หน้าร้านน้ำชาบริเวณปากซอยประชานิมิตร ถนนระแงะมรรคา ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[44]
  • 20 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดบริเวณตลาดสดใกล้โรงแรมเกนติ้ง เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 18 ราย[45]
  • 21 พฤศจิกายน ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่[46]
  • 22 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าต่อตาครูและเด็ก[47]
  • 23 พฤศจิกายน รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ[48]
  • 23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส[49] คนร้ายลอบวางเพลิงเผาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี[50] กลุ่มคนร้ายลักพาตัวเจ้าหน้าที่ ตจด. 3 นายจากฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านสันติ 1 และหมู่บ้านสันติ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา[51]
  • 24 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาอาคารเรียนอนุบาล ร.ร.บ่อทอง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียหายทั้งหลัง[52] คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า หมู่ 2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนในอำเภอหนองจิก กว่า 40 โรง ปิดการเรียนการสอน[53]

พ.ศ. 2550[แก้]

  • 18 กุมภาพันธ์ ในช่วงค่ำรวมเกิดเหตุระเบิดจังหวัดยะลา 15 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 2 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 8 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง วางเพลิงจังหวัดปัตตานี 12 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 6 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง จังหวัดยะลา 1 ครั้ง ลอบยิงจังหวัดปัตตานี 1 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 1 ครั้ง จังหวัดสงขลา 1 ครั้ง เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 4 ราย บาดเจ็บ 62 ราย[54]
  • 17 กรกฎาคม เกิดเหตุระเบิดที่จังหวัดยะลา ด.ต.สุบิน พฤทธิ์มงคล[55]เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 4 ราย ผู้สื่อข่าวบาดเจ็บ 4 คน ชาวบ้านและตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11 คน[56]
  • 26 กรกฎาคม เกิดเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกธนวิถี 2 เขตเทศบาลนครยะลา ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คน บาดเจ็บสาหัส 5 คน ต่อมา เสียชีวิต 2 คน[57]
  • 4 ธันวาคม คนร้ายซุกระเบิดในรถจักรยานยนต์หน้าร้านข้าวต้มใน อ.เมืองปัตตานี ก่อนจุดชนวนระเบิดมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 25 ราย[58]

พ.ศ. 2551[แก้]

พ.ศ. 2552[แก้]

พ.ศ. 2553[แก้]

พ.ศ. 2554[แก้]

  • 1 มกราคม คนร้ายลอบวางวัตถุต้องสงสัยตรงข้ามร้านขายผักในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้าทำการตรวจสอบ คนร้ายที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ใช้โทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิด เป็นเหตุให้ตำรวจ-ทหารเสียชีวิต 2 นาย ชาวบ้านเสียชีวิต-บาดเจ็บอีก 9 ราย[80]
  • 3 มกราคม คนร้ายลอบวางระเบิด และยิงถล่มซ้ำเจ้าหน้าที่ทหารดักสังกัด ร้อย ร.15114 ฉก.นราธิวาส 31 บนถนนสายเจาะไอร้อง-ป่าไผ่ ขณะขี่รถจักรยานยนต์ออกจากฐาน เพื่อเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ รปภ.สถานีรถไฟเจาะไอร้อง ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย[81]
  • 19 มกราคม คนร้ายราว 40 คนบุกถล่มฐานทหารที่จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 13 ราย ปืนถูกปล้น 50 กระบอก กระสุนอีก 5000 นัด [82]
  • 24 มกราคม คนร้ายก่อเหตุฆ่ายกครอบครัวที่ริมถนน สายโหล๊ะท่อม-ป่าพะยอม ท้องที่ หมู่ 12 ต.เกาะเต่า จังหวัดพัทลุง นายสมพร สร้อยทอง อายุ 57 ปี นางกระจาย สร้อยทอง อายุ 55 ปี ภรรยา และนายไกรวัฒน์ สร้อยทอง อายุ 26 ปี[83]
  • 7 กุมภาพันธ์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลาคนร้ายลอบวางระเบิด ส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บสาหัสสองราย[84]
  • 13 กุมภาพันธ์ ถนน ณ.นคร ข้างธนาคารนครหลวงไทย จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมรถยนต์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 ราย เพลิงไหม้ร้านค้า 12 หลัง[85]
  • 21 กุมภาพันธ์ เทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมจักยานยนต์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้รับบาดเจ็บ 17 ราย รถหลายคัน รวมถึงอาคารร้านค้าบริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหาย[86]
  • 17 มีนาคมนายสุดรักษ์ คชศักดิ์ อายุ 20 ปีถูกฆ่าแล้วเผาบนถนนสายควนคง-ลำมุด ท้องที่ ม.14 ต.ตำนาน อ.เมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง[87]
  • 22 มีนาคม คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหารและขโมยปืนเอ็ม16 ไปจำนวน 2 กระบอก ที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จนเป็นเหตุให้ ส.อ.ชเนรินทร์ กันทะ และ พลทหารนเรศ เพชรรัตน์ เสียชีวิต[88]
  • 1 เมษายน คนร้ายก่อเหตุยิงนายสุเทพ โส๊ะประจินที่ร้านน้ำชา จังหวัดสตูลเสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย [89]
  • 2 เมษายน คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมรถจักรยานยนต์ที่ ตลาดนัดนิคมเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 21 ราย
  • 18 เมษายน เขตเทศบาลนครยะลาเกิดเหตุการ์คาร์บอมบ์จนเป็นเหตุให้ทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 20 คน [90]
  • 21 เมษายน พล.ต.อัคร ทิพโรจน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้แก่จังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานี[91]
  • 3 พฤษภาคม คนร้ายลอบวางระเบิดที่ร้านน้ำชาอำเภอบันนังสตาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 ราย[92]
  • 7 พฤษภาคม ริมสนามฟุตบอลหมู่บ้าน ม. 5 บ้านคอกวัว ต.ปล่องหอย อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี คนร้ายลอบวางระเบิดระหว่างการแข่งขันฟุตบอล ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย ส.ต.อ.​อา​ริ​ด หวั่น​ละ​เบะ ส.ต.ต.สามารถ โสะห​สัน​สะ ส.ต.อ.เกรียงศักดิ์ ธนูรักษ์ และ ส.ต.อ.​ณรงค์​ฤทธิ์ สุวรรณศรี เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บ 10 ราย [93]
  • 16 พฤษภาคม คนร้ายลอบวางระเบิดที่อำเภอยะหาส่งผลให้ พระสงฆ์ มรณภาพสองรูป และวัดสวนแก้วจังหวัดยะลา กลายเป็นวัดร้าง เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 3 คน[94]
  • 20 พฤษภาคม หลังมีชาวบ้านมาแจ้งว่ามีคนร้ายเข้ามาในพื้นที่จังหวัดยะลาอำเภอธารโต เจ้าหน้าที่ได้นำหน่วยรบทหารพรานไปล้อมแล้วเกิดการยิงกัน คนร้ายเสียชีวิตหมด 4คน หนึ่งในนั้น คือ มะแอ อภิบาลแบ แกนนำหลักในพื้นที่ ค่าหัว 2 ล้านบาท มีคดีรวมแล้วทั้งหมด 28 คดี รวมถึงการลอบสังหารพันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญาเมื่อปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ได้ยึดปืน AK-47 มาสองกระบอก แล้ว .38 มาอีกกระบอกนึง ส่วนในจังหวัดนราธิวาส ได้มีการระเบิดทำให้คนได้รับบาดเจ็บ 9 คน [95] [96]
  • 25 พฤษภาคม เกิดเหตุรถทหารถูกวางระเบิดมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 รายที่ อำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา[97]
  • 27 พฤษภาคม อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิงนายวรรณพจน์ จินดารัตน์ ขณะขับรถจนเสียชีวิตมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัสสองคน[98]
  • 30 พฤษภาคม เกิดเหตุระเบิดถนนทางรถไฟ ริมทางรถไฟยะลาเขตเทศบาลนครยะลา มีทหารได้รับบาดเจ็บ 5 ราย ชาวบ้าน 2 ราย[99]
  • 1 มิถุนายน นายรังสี สุภัทสรชาวบ้านถูกระเบิดได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกรีดยางพารา ใน อำเภอกาบังต่อมา นายอัสมัน เฮาะมะสะเอ๊ะ ปลัดอำเภอกาบังจังหวัดยะลาได้เดินทางไปตรวจเหตุการณ์ชาวบ้านเหยียบกับระเบิดจนได้รับบาดเจ็บ ทันทีที่เดินทางไปถึงปรากฏว่าได้มีเหตุระเบิดขึ้นอีกครั้งเป็นเหตุให้ เสียชีวิตภายหลังถูกระเบิด รวมถึงผู้ติดตาม นายอุสมาน เจ๊ะนิ อาสาสมัครเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเช่นเดียวกัน และผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[100]หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ระเบิดได้รับบาดเจ็บจากระเบิดอีก 1 ราย รวมทั้งหมด 6 ราย
  • 7 มิถุนายน คนร้ายใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79ยิงบริเวณ ที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ 2ครั้ง มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เจ้าหน้าที่ 1 ราย [101]
  • 8 มิถุนายน คนร้ายบุกยิงเจ้าของร้านชำ มีผู้เสียชีวิตสองศพ และเกิดเหตุระเบิด 3 ครั้งใน อำเภอเจาะไอร้องมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 5 คน ส่วนที่อำเภอสุไหงปาดี คนร้ายบุกยิงชาวบ้านขณะขับรถส่งผลให้ นายมณฑล สมาธิทับดี เสียชีวิต นางบุญศรี ทองคำบาดเจ็บสาหัส[102]
  • 16 มิถุนายน ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16ยิงทหารเสียชีวิต 4 นาย และขโมยปืนของทหารไปด้วย จำนวน 5 กระบอก[103]
  • 24 มิถุนายน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายก่อเหตุระเบิด ในพื้นที่ 3 จุด จนเป็นเหตุให้ นายเที่ยง ชำนาญพงศ์ และ นายวิติ๋ม ศิริ คนงานชลประทาน เสียชีวิต ตำรวจบาดเจ็บ 13 นาย [104]
  • 29 มิถุนายน อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสนายอาหมัด ดือเร๊ะถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีนายสมจิตร แก้วคงดี ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต[105]
  • 11 กรกฎาคม เวลา 05.45 น. นายมามะ สาเมาะ ประธานชมรมอิหม่ามและคอเต็บบิหลั่น และ นางต่วยยานาลียะ สาเมาะ ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนเอ็ม16 เสียชีวิตบนถนนในหมู่บ้านกายูมาตี ม. 8 ต.ตัยหยงลิมอ อ.ระแงะ จังหวัดนราธิวาส[106]วันเดียวกันคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายอัฮมัด สะมะแฮ ที่หมู่3 บ้านพ่อมิ่ง ต.พ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี[107]
  • 14 กรกฎาคมอาสาสมัครทหารพรานอัดนัน มามะ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิต ในร้านน้ำชา บริเวณสามแยกในหมู่บ้าน ข้างถนนลาฆูนิง สายอ.ทุ่งยางแดง-ยะลา ม.5 บ้านจาเราะบองอ ต.เขาตูม[108]
  • 15 กรกฎาคม ภายในตลาดนัดบ้านกลาง ม.7 ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายวรพจน์ แดงสุข อายุ 16 ปีเสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 รายได้แก่นายรงค์ ยอดศรี อายุ 51 ปี และนายเจริญ ตาลศรีกลาง อายุ 59 ปี[109]
  • 17 กรกฎาคม ริมถนนสาย รามัน-ตะโล๊ะหะลอ หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งขมิ้น ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จังหวัดยะลา เกิดเหตุพ่อค้ายางพาราถูกยิงเสียชีวิตและปล้นทรัพย์สิน 3 ราย[110]
  • 19 กรกฎาคม อส.ประทีป กัจกูล อายุ 32 ปี และ อส.มานิตย์ ปักศรีแซ้ อายุ 42 ปี เสียชีวิตจากเหตุการณ์เหยียบทุ่นระเบิดซึ่งคนร้ายนำมาฝังไว้ที่หน้าบ้านและมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสสองราย เหคุเกิดที่ริมถนนสายยะหริ่ง-ปะนาเระ ม.5 บ้านท่ากุล ต.ตะโละกาโปร์ จังหวัดปัตตาน[111] วันเดียวกันที่หน้าร.ร.บ้านเตาปูน ม.3 บ้านเงาะกาโป ต.บันนังสตา เกิดเหตุคนร้ายวางระเบิดในรถจักรยานยนต์แล้วจุดระเบิด ส่งผลให้ จ.ส.อ.สาโรจน์ ศรีชี อายุ 45 ปี เสียชีวิต[112]
  • 29 กรกฎาคมเกิดเหตุคนร้ายดักซุ่มยิงรถยนต์ขบวนโชว์ช้างแสนรู้ที่บริเวณ 3 แยกบ้านเปาะลามะ ม.2 ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส ส่งผลให้ นายนัฐพล สิงหะกระโจม เสียชีวิต [113] และได้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 5 ราย วันเดียวกันที่บนถนนสายทุ่งยางแดง - รามัน ม.2 ต.น้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิง นายรอหิมา เจ๊ะแว อายุ 42 ปี เสียชีวิต[114]
  • 31 กรกฎาคมที่ตลาดนัดหน้าสถานีรถไฟรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุยิงนายสะแปอิง ยะโก๊ะ อายุ 46 ปี เสียชีวิต และยิง นายมะราดีอามาน เด่นอร่ามคาน อายุ 44 ปีบาดเจ็บสาหัส ในวันเดียวกันที่สวนยางพาราบ้านกูโบ ม.5 ต.สุวารี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส คนร้ายก่อเหตุวางทุ่นระเบิดโดยนายอาดือนัง ซาเมาะ อายุ 30 ปี เจ้าของสวนยางพาราได้รับบาดเจ็บสาหัวจากการเหยียบทุ่นระเบิด
  • 1 สิงหาคม บนถนนในหมู่บ้านสายโคกหญ้า คา-แม่ลาน บ้านโคกหญ้าคา ต.คลองใหม่ จ.ปัตตานี คนร้ายได้จุดระเบิดที่ซ่อนไว้ ส่งผลให้ ส.ท.อรรถพล หงส์คำ ถูกสะเก็ดระเบิดที่ลำตัวเสียชีวิต ส่วน ส.อ.ประจักร วิเศษรัตน์ และพลทหารอัศวิน พูลผ่าน บาดเจ็บเล็กน้อย[116]
  • 6 สิงหาคม ริมถนนสาย 410 (ธารโต-เบตง) บ้านบูโล๊ะสะนีแย ม.4 ต.ธารโต อ.ธารโต คนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่องบรรจุกล่องเหล็กวางไว้โคนเสาไฟฟ้า จุดระเบิดขึ้นเสาไฟฟ้าโค่นไป 3 ต้น กระแสไฟฟ้าถูกตัดทั้งตำบลรวมถึงบางส่วนของตำบลใกล้เคียง[117]
  • 18 สิงหาคม ร.ต.อ.ไพโรจน์ พิจิตรบรรจง ร้อยเวร สภ.เมืองสตูล จังหวัดสตูล รับแจ้งพบศพลอยน้ำในคลองบำบัง เขตเทศบาลเมืองสตูลซึ่งคนร้ายลอบสังหารและนำมาทิ้งไว้[118]
  • 23 สิงหาคมบริเวณคอสะพานใกล้ ร.ร.บ้านตะโละ คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดเป็นเหตุให้อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 1 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีก 1 นาย[119]
  • 24 สิงหาคม ภายในฐานปฏิบัติการณ์หน่วยพัฒนาสันติที่ 421 ตนร้ายไม่ต่ำกว่า 20 คน ยิงถล่มฐานส่งผลให้นายบาราเหม แฉะ อายุ 37 ปี สมาชิกอาสาสมัคร อ.เทพา ถูกยิงด้วยอาวุธปืนเอ็ม 16 เข้าลำตัวหลายนัด เสียชีวิตส่วน อส.ทพ.มามะ นาวี อายุ 30 ปี อาสาสมัครทหารพราน ชุดพัฒนาสันติถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกนำส่งโรงพยาบาลหาดใหญ่[120]ที่ถนนหน้ามัสยิดซีกู ม.5 บ้านซีกู ต.ละหาร อ.สายบุรี คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายอามิ สือมิ อายุ 60 ปี ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 บ้านซีกู ต.ละหาร เสียชีวิต[121]
  • 25 สิงหาคม ที่บ้านเลขที่ 85 ม.9 อ.บันนังสตา ต.ปะแต ริมถนนสาย 4077 จ.ยะลา คนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิง นายนิสุไลมาน เซ็งมะสู สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และ เด็กหญิงรัซมี เซ็งมะสู อายุ 4 ขวบ บุตรหญิงของนายนิสุไลมาน เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 ราย 1 รายบาดเจ็บสาหัส [122]
  • 26 สิงหาคม คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายสมศักดิ์ แสงงาม อายุ 53 ปี เจ้าของสวนยางพารา เสียชีวิตและใช้ทุ่นระเบิดจุดระเบิดระหว่างเจ้าหน้าที่เดินทางด้วยรถยนต์มาตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ อส.กิตติพร ช่วยรอด อส.สุนันท์ มณีรัตน์ อส.มะฮารี ลาเต๊ะ อส.ถวิล เหล่าดี อส.ซุลกิฟลี ตาเยะ เสียชีวิตและ อส.อารีเพ็ญ ซีระ ได้รับบาดเจ็บสาหัส[123]
  • 27 สิงหาคมที่บริเวณบนถนนสาย42 ปัตตานี-สงขลา หน้าสมาคมส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง จ.ส.ต.นรินทร์ หัดเร๊ะ อายุ 39 ปี ฝ่ายสืบสวนสอบสวน สภ.หนองจิก และ จ.ส.ต.นพดล หมานอะ อายุ 38 ปี ฝ่ายสื่อสาร สภ.หนองจิก เสียชีวิต[124]ส่วนที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลานายซุกรัน อีแต อายุ 24 ปี ถูกยิงเสียชีวิต และที่อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส นายวรพจน์ เต็มภูมิ อายุ 18 ปี นางเรณู กล้าศักดา อายุ 51 ปี นางผการัตน์ ทองดี อายุ 20 ปี นายยุทธนา เขียงดำ อายุ 21 ปี ถูกปืนอาก้ายิงได้รับบาดเจ็บสาหัส[125]นายชาคริช กิจบุรี อายุ 32 ปี ถูกปืนอาก้ายิงได้รับบาดเจ็บ
  • 28 สิงหาคมนายอิ่ม โชติยกุล อายุ 66 ปี เสียชีวิตจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในสวนยางที่อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี[126]ส่วนที่ตำบลรูสะมิแล จังหวัดปัตตานีคนร้ายสังหาร นายอัซมี แซ๊ะแง อายุ 18 ปี และ นายวันอุสมาน หะยีเจ๊ะนะ อายุ 16 ปี เสียชีวิต[127]และที่อำเภอระแงะจังหวัดนราฑิวาส นายมาหะหมัดซากือรี เจ๊ะซอ อายุ30 ปีถูกปืนอาก้ายิงเสียชีวิต
  • 31 สิงหาคมนายอาสมิง อามิ อายุ 15 ปีถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส[128]
  • 5 กันยายน เกิดเหตุจลาจลขึ้นภายในเรือนจำกลางปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี ส่งผลให้นักโทษเสียชีวิต 3 ราย สาเหตุจากการพลัดตกจากหลังคาแล้วถูกนักโทษรุมทำร้าย[129]
  • 15 กันยายน คนร้ายจุดระเบิดถล่มรถกระบะทหารส่งผลให้ จ.ส.อ.เชิดศักดิ์ ทำมาไหวหัวหน้าชุดร้อย ทพ.4415 กรมทพ.ที่ 44 อส.ทพ.มะรอเซะ หะรีมาแซ อส.ทพ.ตระกายศักดิ์ ดุลจม อส.ทพ.สมศักดิ์ ประจงรัมย์ และ อส.ทพ.ธีรสาร จิจจักร์ เสียชีวิต อส.ทพ.อนันต์ รัตนะ บาดเจ็บสาหัวเหตุเกิดที่ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี[130]
  • 16 กันยายน คนร้ายลอบวางระเบิดส่งผลให้ นายเดชสันต์ โรจน์สุนันท์ เสียชีวิต และมีชายไม่ทราบชื่อเสียชีวิตอีก 2 ราย[131]บาดเจ็บกว่า 60 ราย เหตุเกิดที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
  • 24 กันยายน นายวิชัย ซั่วพันธ์ และหญิงไม่ทราบชื่อถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส[132]
  • 1 ตุลาคมนายแวปะยูนัน สิเดะ อายุ 50 ปี ผู้ใหญ่บ้านไอร์โซ ถูกยิงเสียชีวิตที่ ต.ผดุงมาตร อำเภอจะแนะ นายพิสุทธิ์ บุญแนบ อายุ 61 ปีถูกยิงเสียชีวิตที่ ต.มะกรูด อำเภอโคกโพธิ์[133]
  • 3 ตุลาคมจ.ส.ต.ครรณชาติ พิศสุวรรณ ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาขณะทำการตรวจค้นผู้ต้องสงสัย[134]ขณะที่นายโมฮัมหมัดซูเรีย จะปะกิยา อายุ 34 ปีถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต[135]
  • 25 ตุลาคม เกิดเหตุการณ์คนร้ายวางระเบิด 16 จุดจำนวน 16 ลูกทั่วจังหวัดยะลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย คนร้าย 2 ราย ประชาชนทั่วไปหนึ่งรายได้แก่นายเศรษฐวุฒิ ทองจีน อายุ 17ปี และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 35 รายบาดเจ็บสาหัส 15 ราย[136]
  • 23 พฤศจิกายน นายปรีดี สนละ อายุ 21 ปีถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตที่โรงพยาบาลสตูลจังหวัดสตูล[137]

พ.ศ. 2555[แก้]

  • 3 มกราคม คนร้ายใช้ระเบิดแสวงเครื่องฝังใต้ถนนสายบ้านคลองช้าง-บ้านเขาวัง ม.3 ต.ตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี จุดชนวนระเบิดด้วยสายไฟ ทำให้ร้อยโท ดิเรกสิน รัตนสิน ผบ.ร้อย ร.15312 ฉก.ปัตตานี 25 และสิบเอก ยุทธยา จำปามี เสียชีวิต[138]
  • 31 มีนาคม เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุดที่ จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 127 ราย[139] และคาร์บอมบ์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในโรงแรมลีการเด้นส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[140] และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 416 ราย[141] (ดูบทความ เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555)
  • 24 มิถุนายน พระไข่ วงศ์อุทัยถูกคนร้ายแทงเสียชีวิตที่วัดป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง[142]
  • 20 กรกฎาคม อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสได้เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 ราย[143] บ้านเรือนร้านค้าเสียหายจำนวน 4 คูหาและรถยนต์เสียหาย
  • 25 กรกฎาคม อำเภอรามันจังหวัดยะลาเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บนถนนสายบ้านอูเป๊าะ-บ้านปากาซาแม หมู่ 7ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 ราย และได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย[144]
  • 31 กรกฎาคม คนร้ายจุดระเบิดบริเวณโรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานีส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย[145]
  • 7 พฤศจิกายน พีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตบริเวณด้านหน้าสำนักงานสงขลาฟอร์รั่ม ถนนนครใน เขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา[146]

พ.ศ. 2556[แก้]

  • 13 กุมภาพันธ์ - คนร้ายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เกิดการปะทะกับทหารไทย เบื้องต้นทราบว่าคนร้ายเสียชีวิต 17 คน รวมทั้งมะรอโซ จันทรวดี แกนนำคนสำคัญในจังหวัดนราธิวาส [147]
  • 6 เมษายน - คนร้ายกดระเบิดแสวงเครื่องบรรจุถังแก๊สปิกนิกหนัก 30 กิโลกรัมที่ซุกในท่อระบายน้ำใต้พื้นถนน ทำให้อิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และเชาวลิต ไชยฤกษ์ ปลัดฝ่ายป้องกันจังหวัดยะลา เสียชีวิต[148]
  • 27 พฤษภาคม - อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บรวม 8 นาย[149][150]
  • 28 มิถุนายน - คนร้ายลอบยิงเจ้าหน้าที่ บริเวณบริษัท พิธานพานิชย์ สาขานาทวี ถนนสายคลองแงะ-นาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา มีตำรวจเสียชีวิต 2 ราย และชาวบ้าน 1 รายบาดเจ็บ 9 ราย บาดเจ็บสาหัส 4 ราย[151]
  • 29 มิถุนายน - คนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา มีทหารเสียชีวิต 8 ราย ทหารบาดเจ็บสาหัส 2 ราย ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส 2 ราย[152]
  • 11 พฤศจิกายน - นายอับดุลย์ก่อนี หมัดเจริญ อายุ 58 ปี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะแต้วถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต ที่จังหวัดสงขลา [153]
  • 22 ธันวาคม - คนร้ายลอบวางระเบิดที่อำเภอสะเดา 4จุดจังหวัดสงขลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 ราย เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายในอำเภอสะเดาในรอบหลายปีที่ผ่านมา[154]

พ.ศ. 2557[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น